ควบคุมคุณภาพน้ำคูลลิ่งทาวเวอร์ ควบคุมพลังงานชิลเลอร์​

August 26, 2021

ควบคุมคุณภาพน้ำคูลลิ่งทาวเวอร์ ควบคุมพลังงานชิลเลอร์​

น้ำในคูลลิ่งทาวเวอร์ ถึง การใช้พลังงานของชิลเลอร์

น้ำในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ( Cooling Tower ) นับเป็นปัจจัยสำคัญในระบบปรับอากาศแบบซิลเลอร์ของอาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรมโรงงาน ต่าง ๆ โดยทั่วไประบบปรับอากาศทำความเย็นด้วยซิลเลอร์เหล่านี้ ใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 40%-60% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในอาคาร ดังนั้นน้ำในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ของซิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานในแต่ละเดือนอย่างมีนัยสำคัญ 

ลักษณะของน้ำในคูลลิ่งทาวเวอร์ และความเกี่ยวข้องด้านพลังงาน

การปรับสภาพน้ำในคูลลิ่งทาวเวอร์ โดยพื้นฐานแล้วคือการปรับให้น้ำมีคุณภาพที่เหมาะสมกับชิลเลอร์ที่ใช้งานในระบบปรับอากาศดังนั้งปัจจัยหลักสำคัญจึงเป็นการควบคุมการเกิดตะกรัน การลดจุลชีพ และป้องกันการกัดกร่อนต่างๆ โดยเฉพาะตะกรันหินปูนซึ่งเป็นคราบสกปรกที่สามารถส่งผลโดยตรงต่อการใช้พลังงานของชิลเลอร์ให้สิ้นเปลืองมากขึ้นเพราะคราบตะกรันคราบหินปูนที่รวมตัวหนาเป็นชั้น ทำหน้าที่คล้ายฉนวนขัดขวางประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนของซิลเลอร์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชิลเลอร์ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถทำความเย็นได้เท่าเดิม 

เมื่อพิจารณาจากกราฟถึงผลกระทบของคราบตะกรันที่เกิดขึ้นบนผิวของคอนเดนเซอร์ของซิลเลอร์จะพบว่าหากชั้นของตะกรันหนาขึ้นเพียง 0.5 มม. จะส่งผลให้คอมเพลสเซอร์ของซิลเลอร์ต้องใช้พลังงานในการทำงานเพิ่มขึ้นประมาณ 18% เทคโนโลยีในปัจจุบันในการควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อป้องกันการเกิดตะกรันในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 สาย คือใช้และไม่ใช้สารเคมี

สายการใช้สารเคมีเพื่อ ควบคุมการเกิดตะกรัน ประกอบด้วยเทคโนโลยี

1. การใช้ระบบทำน้ำอ่อน


โดยการนำสารเรซินมาใช้เปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเพื่อปรับให้ค่าความกระด้างของน้ำลดลง เป็นวิธีที่สามารถเปลี่ยนน้ำกระด้างให้กลายเป็นน้ำอ่อนได้ช่วยลดคราบตะกรันที่สะสมอยู่ภายในระบบ ซึ่งระบบการจัดการนี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยการล้างสารกรองเรซินด้วยเกลือ (Regen) เพื่อให้สารกรองเรซินมีประสิทธิภาพในการกำจัดความกระด้างได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่วิธีการนี้จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการใช้สารเคมีป้องกันคราบตะกรัน

2. การใช้สารเคมีป้องกันคราบตะกรัน

คือการเติมสารเคมีเพื่อยับยั้งการเกิดตะกรัน Scale inhibitor ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทโพลีเมอร์ลงในระบบอย่างต่อเนื่องระบบการเติมสารเคมีอาจใช้ระบบอัตโนมัติ หรือระบบ Manualก็ได้ แต่จะต้องเติมอย่างต่อเนื่องทุกวัน และในปริมาณที่เหมาะสมด้วย และน้ำบางแห่งอาจต้องเติมสารที่มีฤทธิ์เป็น
กรดไปพร้อมกันด้วยเพื่อช่วยลดค่า pH
(ค่า pH ที่สูงจะส่งผลให้เกิดคราบตะกรันได้เร็วยิ่งขึ้น)

สายไม่ใช้เคมีเพื่อ ควบคุมการเกิดตะกรัน (Non-chemical)

โดยสายนี้มีชื่อเรียกว่า physicalwater treatment เป็นการสลายและป้องกันโดยการใช้คลื่นอิเล็กทรอนิกส์มาเปลี่ยนโครงสร้างของตระกัน โดย Vulcan ได้นำหลักการนี้มาประยุกต์ต่อยอดจนสามารถป้องกันการเกิดตะกรันได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้อุปกรณ์นี้ยังช่วยป้องกันการกัดกร่อนได้อีกด้วย จนได้รับการยอมรับจาก ASHRAE (สมาคมเครื่องปรับอากาศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)โดย  Vulcan จะสร้างปฏิกิริยาอิเล็กโตรโฟรีซิสด้วยคลื่นความถี่ทำให้เกิดชั้นโลหะ – คาร์บอเนตขึ้นตามพื้นผิวของท่อภายใน ชั้นโลหะนี้จะทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นได้จึงช่วยให้ระบบปรับอากาศสามารถระบายความร้อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้พลังงานและสามารถยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบได้เป็นอย่างดี

ประหยัดพลังงานในชิลเลอร์

ลดปริมาณการใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การสิ้นเปลืองพลังงานของชิลเลอร์ (Condenser Approach Temperature)

ตะกรันในชิลเลอร์

หยุดการสินเปลื้องพลังงาน  หยุดสารเคมี

ความรู้ที่น่าสนใจอื่นๆ

บริษัท เอสจีไอ เทคโนโลยี จำกัด (สำนักงานใหญ่)
587/1-2 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง
เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานครฯ 10120​

ติดต่อเรา

Follow us

DESIGN by

All rights reserved ©2022 ​SGI Technology​